วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผยแพร่นวัตกรรม


แบบรายงานนวัตกรรม

1. ชื่อนวัตกรรม เครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่
2. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
3. ความเป็นมานวัตกรรม
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปะครูจำเป็นต้องคิดสื่อนวัตกรรมขึ้น
ใช้เองเพื่อให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและธรรมชาติวิชา โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติมาช่วยในการเรียนการสอน เน้นที่ความประหยัดและหาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หรือไม่ก็ใบมะพร้าว ใบตาล ใบจาก แม้แต่เศษกระดาษที่ไม่ได้ใช้ก็นำมาสานได้ สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่าย และเข้าใจในความหมายของเนื้อหาและปฏิบัติงานในบทเรียนง่ายขึ้น โดยเฉพาะวิชาศิลปะเป็นวิชาที่ต้องปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้สิ้นเปลือง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิดสร้างสื่อขึ้นมาเองเพื่อสะดวก ประหยัดและสนองตอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามสาระการเรียนรู้และสนองนโยบายของรัฐบาลที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
4. กระบวนการได้มาซึ่งนวัตกรรม
4.1 วัตถุประสงค์เป้าหมาย
4.1.1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่
4.1.2 บอกความหมายและประเภทของเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ได้
4.1.3 อธิบายหลักและวิธีการสานลายต่าง ๆ ได้
4.1.4 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการจักสานได้ถูกต้อง
4.1.5 สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ด้วยวิธีการสานลายต่าง ๆ ได้
4.2 การออกแบบนวัตกรรม
4.2.1 ศึกษารายละเอียดเนื้อหาเรื่องเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่
4.2.2 ศึกษาเอกสาร ตำราเกี่ยวกับวิธีการทำเครื่องจักสาน
4.2.3 ครูและนักเรียนร่วมกันคิดและออกแบบการจัดแผงโครงงานเครื่องจักสาน
4.2.4 จัดซื้อและหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ครบเพื่อเตรียมลงมือปฏิบัติการผลิตสื่อการเรียน
การสอน
4.2.5 กำหนดจุดประสงค์ในการจัดทำเครื่องจักสาน

4.3 การนำสู่การปฏิบัติ
4.3.1 ตัดไม้ไผ่ทำโครงแผงงาน
4.3.2 ประกอบไม้ไผ่ตามแบบ
4.3.3 ประกอบเครื่องจักสานกับแผงไม้ไผ่
5. คุณค่าของนวัตกรรม
5.1 คุณค่าต่อการเรียนการสอน
5.1.1 ทำให้เข้าใจเนื้อหาที่ยากให้ง่ายขึ้น
5.1.2 เป็นสิ่งที่นักเรียนให้ความสนใจ
5.1.3 ทำนักเรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
5.1.4 ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้
5.1.4 ส่งเสริมความคิดและแก้ปัญหา และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5.1.5 ทำให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
5.1.6 ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรงสามารถสัมผัสและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และ
ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
5.1.7 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าไม่ใช้สื่อ
5.2 ประโยชน์ที่ได้ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
5.2.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยวัสดุธรรมชาติ
5.2.2 ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันและเกิดความคิดรวบยอด
5.2.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ครั้งละหลาย ๆ คน มีการเรียนรู้อย่างเป็นฐานความรู้
ร่วมกัน
5.2.4 นักเรียนเกิดการเร้าให้เกิดความสนใจ ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้กับ
กลุ่มสาระอื่น เช่น กลุ่มสาระเทคโนโลยีการงานพื้นฐานอาชีพ , สังคม , คณิต ฯลฯ



โดย นายสุรจิต บำรุง
ศูนย์ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
เสนอ ดร.สมจิต สงสาร

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

เครื่องจักสาน


1. ชื่อนวัตกรรม เครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่
2. นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
3. ความเป็นมานวัตกรรม
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาศิลปะครูจำเป็นต้องคิดสื่อนวัตกรรมขึ้น
ใช้เองเพื่อให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและธรรมชาติวิชา โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติมาช่วยในการเรียนการสอน เน้นที่ความประหยัดและหาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หรือไม่ก็ใบมะพร้าว ใบตาล ใบจาก แม้แต่เศษกระดาษที่ไม่ได้ใช้ก็นำมาสานได้ สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่าย และเข้าใจในความหมายของเนื้อหาและปฏิบัติงานในบทเรียนง่ายขึ้น โดยเฉพาะวิชาศิลปะเป็นวิชาที่ต้องปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้สิ้นเปลือง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิดสร้างสื่อขึ้นมาเองเพื่อสะดวก ประหยัดและสนองตอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามสาระการเรียนรู้และสนองนโยบายของรัฐบาลที่เน้นเศรษฐกิจพอเพียง